11/30/2555

Chernobile

  

 อุบัติภัยเชอร์โนบิล (ยูเครน: Чорнобильська катастрофа, Čornobyľśka katastrofa; อังกฤษ: Chernobyl disaster) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ตั้งอยู่ที่นิคมเชอร์โนบิล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต จังหวัดเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) อุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน
อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบระบบได้ล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน ได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น ผลจากการระเบิดทำให้เกิดขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน
อุบัติเหตุครั้งนี้ได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
ในปี ค.ศ. 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก  ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน มีผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิด 56 คน แต่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีอาจสูงถึง 4,000 คน 
 
  

สุขภาพของพนักงานและคนในท้องถิ่น

หลังเกิดเหตุมีผู้ป่วย acute radiation sickness 237 คน ในจำนวนนี้ 31 คนเสียชีวิตในช่วงสามเดือนแรก ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิงที่พยายามควบคุมเหตุการณ์โดยไม่ทราบถึงอันตรายของการรับรังสีและควัน ทั้งนี้รายงาน ค.ศ. 2006 ขององค์การอนามัยโลกในที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญ Chernobyl Forum ว่าด้วยผู้ปฏิบัติงาน 237 คนที่ป่วย ARS รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจาก ARS จำนวน 28 คนในช่วง 2-3 เดือนแรก ไม่มีรายงานการเสียชีวิตจาก ARS ของประชากรทั่วไป ในบรรดาผู้ปฏิบัติงานกู้ภัยชาวรัสเซีย 72,000 คนที่อยู่ในกลุ่มศึกษา มีการเสียชีวิตจากเหตุที่ไม่ใช่มะเร็ง 216 รายซึ่งเกี่ยวข้องกับอุบัติภัยในช่วง ค.ศ. 1991-1998 ระยะแฝงของการเกิดเนื้องอกที่เกิดจากการได้รับรังสีมากเกินไปอยู่ที่ 10 ปี ดังนั้นในช่วงเวลาที่ WHO รายงานผลการศึกษานี้ พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งไม่ต่างจากประชากรปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น