|
ขนมไทย นอกจะมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานแล้ว นอกจากจะรับประทานตบท้ายมื้ออาหารหรือทานระหว่างมื้อแล้วนั้น ก็ยังนิยมใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน และงานขึ้นบ้านใหม่ เนื่องจาก ขนมไทย มีชื่อและความหมายที่ดี เป็นมงคล
งานบวช เป็นงานสำคัญในชีวติของลูกผู้ชายที่จะแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบิดามารดา และผู้มีพระคุณ โดยเจ้าภาพจะต้องต้อนรับด้วยการเลี้ยงอาหารคาว-หวาน ให้เป็นที่ประทับใจของแขกเหรื่อ และจัดขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคลเพื่อความรุ่งเรืองของตัวเจ้าภาพและผู้บวช เช่น ขนมชั้น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ถ้วยฟู ฯลฯ
ขนมชั้น
งานแต่ง คนโบราณจะให้ความสำคัญอย่างมากวัตถุดิบที่นำมาจัดเลี้ยงจะเลือกสรรเป็นอย่างดี ขนมไทย ก็เช่นกัน มักเลือกที่มีชื่อและความหมายที่ดี เป็นสิริมงคล ต่อคู่บ่าวสาว เช่น- ขนมกง หมายถึง มีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เปรียบเสมือนให้คู่บ่าวสาวได้ใช้ชีวติเคียงข้างกันด้วยใจคอที่หลักแน่น มีความรักให้กันตลอดกาล เหมือนกงล้อเกวียน - ขนมสามเกลอ หมายถึง ให้อยู่ด้วยกันยั่งยืนนาน ไม่แยกจากกัน - ขนมโพรงแสม เปรียบเสมือนเสาบ้านอันเป็นที่พักพังให้ความมั่งคงกับทั้งคู่ - ขนมนมสาว เปรียบเสมือนแสงสว่างนำทางการใช้ชีวติ- ขนมฝักบัว ที่มีความหมายแสดงความสูงส่งของการใช้ชีวิตสมรส
ขนมกง
นอกจากนี้ยังใช้ขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคลอีกหลายชนิด ได้แก่ ขนมสอดไส้ ขนมผิง ขนมชั้น ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง
ขนมไทย ที่ใช้ในงานแต่ง
ประเพณีสงกรานต์ สมัยก่อนเมื่อจะถึงวันสงกรานต์หรืองานขึ้นปีใหม่ของคนไทย ชาวบ้านจะช่วยกันกวน ขนมเปียก ข้าวเหนียวแดง และกะละแม เพื่อเตรียมไว้สำหรับทำบุญและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน เพื่อแสดงน้ำใจไมตรี และถือเป็นโอกาศในการอวดฝีมือการทำ ขนมไทย ไปในตัว ในการทำข้าวเหนียวแดงและกะละแม จะต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันทำจนสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะได้ขนมเพื่อนำไปทำบุญแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี อีกด้วย การที่เรียก กะละแม ขนมไทย ชนิดนี้ ว่า “กะละแม” นั้น เคยมีผู้รู้หลายท่ายกล่าวไว้ว่า กะละแมเป็น ขนมไทย ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เพี้ยนมาจากคำว่า “คาราเมล” ที่เป็นของเหลวสีน้ำตาล ที่มีความเหนียวและมีรสหวาน บางคนว่ามาจากภาษามลายู คือ “เกอะลาไม” หรือ “เคอะลาไม” อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานและบอกต่อๆ มากันเท่านั้น
ข้าวเหนียวแดง
ประเพณีสารทไทย ประเพณีนี้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรและแจกจ่ายขนมไทย ที่มีชื่อว่า กระยาสารท คำว่า “สารท” มาจากภาษาบาลี ที่แปลว่า “ฤดู” อันเป็นช่วงเวลาที่พืชพันธุ์ผลไม้ออกดอกออกฝล แสดงถึงความรื่นเริงยินดี งาน วันสารทเดือน 10 ของคนไทยในภาคใต้นั้นจะมี ขนมไทยที่แตกต่างจากภาคอื่่นๆ เช่น- ขนมลา เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า เคี่ยวรวมกับน้ำตาลจนข้น แล้วนำมาโรยเป็นเส้นละเอียด คล้ายกับผืนผ้าที่ทอเป็นแผ่น - ขนมพอง ที่ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่ง นำมาอัดใส่พิมพ์แล้วตากแดดจนแห้งก่อนทอดให้พองฟู
ขนมพอง
ทอดกฐิน ขนมไทย ที่นิยมนำมาใช้ได้แก่ขนมประเภททอด เช่น กล้วยแขกและข้าวเม่าทอด (ตามหลักฐานจากจิตรกรรมฝาผนังในพระอะโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นศิลปะยุครัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 5)
ข้าวเม่าทอด
โดยการทำ ขนมไทย นั้นผู้ที่ทำจะต้องใส่ใจลงไปด้วย อีกทั้งต้องมีใจรัก อดทน ตั้งใจพิถีพิถันให้ขนมมีรูปร่างลักษณะที่สวยงาม สมัยก่อนผุ้ที่ทำขนมไทยจะต้องมีประสบการณ์และความชำนาญอย่างมาก เพราะในการทำแต่ละครั้งจะใช้การกะส่วนผสมด้วยสายตา และสัมผัดด้วยมือ แต่ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ ชั่ง ตวง เกิดขึ้น จึงทำให้ ขนมไทย มีรสชาติได้มาตรฐานและระบุส่วนผสมได้ชัดเจน
ข้อมูลจากหนังสือ “ขนมหวานไทย” |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น