5/26/2555

ภัยเงียบจากภาชนะ


      ปัจจุบันเรามีภาชนะบรรจุอาหารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งภาชนะบรรจุอาหารแต่ละชนิด มีคุณสมบัติและส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานและประเภทของอาหาร เพราะการใช้ภาชนะบรรจุอาหารผิดประเภทอาจนำอันตรายมาสู่เราอันเนื่องมาจากสารพิษเจือปนจากภาชนะได้ และหากมีสารสะสมในร่างกายเป็นเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดเป็นโรคร้ายได้อีกด้วย เรามาดูตัวอย่างอันตรายจากภาชนะใกล้ๆ ตัวที่อาจเกิดขึ้นได้

1.ภาชนะพลาสติก

        
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปถุงพลาสติก, ถ้วยพลาสติก หรือฟิล์ม พลาสติกสำหรับห่ออาหาร ซึ่งนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ล้วนมีอันตรายหากนำมาใช้ผิดวิธีเพราะสารเคมีจากพลาสติกอาจละลายปนเปื้อนสู่อาหารและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เราควรมีข้อระวังดังนี้
        
-ไม่ควรใช้บรรจุอาหารที่เป็นกรดหรือเปรี้ยวจัด เช่น ของหมักดอง น้ำส้มสายชู
        
-ถุงร้อนบางชนิดสามารถทนความร้อนได้ถึง 120 องศาเซลเซียส แต่อาหารที่ทอดใหม่ๆ อาจมีอุณหภูมิสูงกว่านี้ เพื่อความปลอดภัย จึงควรพักที่ตะแกรงให้อาหารคลายร้อนก่อนบรรจุใส่ถุง
        
-ไม่ควรใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดหรือมีความมันมากๆ เป็นเวลานาน เนื่องจากพลาสติกสัมผัสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้อาจทำให้สารเคมีละลายปนเปื้อนสู่อาหารได้
        
-อย่าใช้ฟิล์มพลาสติกสัมผัสความร้อนโดยตรง ควรห่างกันอย่างน้อยประมาณ 1 นิ้ว เพราะหากฟิล์มได้รับความร้อนสูงอาจทำให้ละลายได้
         

อันตรายจากพลาสติก

        
การใช้ภาชนะพลาสติกผิดวิธีอาจทำให้มีการปนเปื้อนของสารเคมี ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพได้ ตัวอย่างสารเคมีประกอบและผลกระทบต่อสุขภาพ
        
-สีที่ผสมในพลาสติก ส่วนมากเป็นสีสังเคราะห์ที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ และมีโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อรับประทานเข้าไปสะสมในร่างกายนานๆ อาจทำให้เกิดการก่อพิษเรื้อรัง
        
-สารพิษฟีนอล 60 (Bisphenol-A) เป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการการทำพลาสติกบางชนิด จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารชนิดนี้มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ มีรายงานว่าทำให้หนูทดลองมีสารพันธุกรรมผิดปกติหลายลักษณะ ซึ่งนำไปสู่การก่อโรคมะเร็ง
        
-สารฟะทาเลต (Phthalate) เป็นสารที่ทำให้พลาสติกมีลักษณะนิ่ม จากรายงานวิจัยต่างประเทศระบุชัดว่าสาร Phthalate ในพลาสติกทุกประเภทเป็นตัวรบกวนฮอร์โมนในเพศชายอาจก่อให้เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศพบว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นหมัน รวมถึงทำให้อวัยวะเพศชายพิการ ผลิตอสุจิลดลง ส่วนเพศหญิงส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตเร็วผิดปกติเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้
        
-อันตรายจากสารเคมีที่เจือปนในพลาสติก เช่น ไวนิล คลอไรด์มอนอเมอร์ (Vinyl Choride Monomer) สไตร์รีนมอนอเมอร์ (Styrene Monomer) ไดออกซิน (Dioxin) สารเหล่านี้ละลายปนเปื้อนสู่อาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเป็นพิษอันตรายต่อร่างกาย ก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทการทำงานของตับและก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

        
2.ภาชนะเมลามีน

        
ชื่อเต็มว่า เมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา สวยงาม ตกไม่แตก แต่มีข้อระวังคือ
        
-ไม่ควรใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดเกิด 100  องศาเซลเซียส เช่นน้ำเดือดหรือของทอดร้อนๆ
        
-ไม่ควรใช้บรรจุอาหารที่เป็นกรดหรืออาหารที่มีรสเปรี้ยว
        
-ห้ามนำเข้าเตาไมโครเวฟเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเป็นพลาสติกชนิดที่ไม่ทนต่อความร้อนและพลังงานไมโครเวฟจะทำให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในอาหาร
        
-สำหรับโทษของสารฟอร์มาลดีไฮด์ หากมีการสะสมมากๆ ในระยะยาวทำให้เซลล์ในร่างกายเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดมะเร็งอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและปอด

      
3.กล่องโฟมใส่อาหาร

        
ผลิตจากสารเคมีพอลิไตรีน ผ่านการอัดอากาศร้อยละ 90 จึงทำให้โฟมไม่ทนต่อความร้อน รวมทั้งอาหารที่ร้อนจัด หรืออุ่นในไมโครเวฟ สารดังกล่าวจะละลายได้ง่ายเมื่อถูกคราบมัน การละลายของกล่อมโฟมอาจทำให้มีสารเคมีชื่อสไตรีนออกมาปนเปื้อนอาหาร ซึ่งสารดังกล่าวก่อให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งและมีพิษต่อระบบประสาท


ขอบคุณ : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

ที่มา  :  http://variety.teenee.com/foodforbrain/44961.html