10 มหานครทั่วโลกที่ยิ่งใหญ่โด่งดังจนน่าเหลือเชื่อว่าจ ะไม่ใช่เมืองหลวง
หลายคนคงประหลาดใจเมื่อทราบว่า "ซิดนีย์" ไม่ใช่นครหลวงของประเทศออสเตรเลีย แท้จริงแล้วยังมีมหานครอีกหลายแห่งทั่วโลกที่ประสบชะ ตากรรมเช่นเดียวกันกับซิดนีย์ และนี่คือ 10 อันดับของมหานครที่หลายคนคงไม่เชื่อว่ามิได้มีสถานะเ ป็นเมืองหลวงของประเทศหรือมลรัฐที่ตนเองสังกัดอยู่
1. เมือง "นิวยอร์ค ซิตี้" มลรัฐนิวยอร์ค
มหานครแห่งนี้อาจเป็นราชันแห่งเนินเขาหรือได้รับฉายา ว่าเป็นเมืองซึ่งอยู่บนจุดที่สูงที่สุด แต่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพียงคำอุปมา เนื่องจากเมือง "อัลบานี" (ต้นกำเนิดของกระดาษม้วนที่ใช้ในห้องน้ำ) ต่างหากที่เป็นเมืองหลวงแท้จริงของมลรัฐนิวยอร์ค
2. เมือง "ซิดนีย์" ประเทศออสเตรเลีย
มหานครแห่งนี้อาจโดดเด่นด้วยท่าเรือและอาคารโอเปร่า เฮ้าส์ แต่นครหลวงที่เป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการของประเทศอ อสเตรเลียนั้นคือ กรุง "แคนเบอร์ร่า" ต่างหาก
3. เมือง "ชิคาโก" มลรัฐอิลลินอยส์
ชิคาโกอาจขึ้นชื่อเรื่องพิซซ่าแบบหนานุ่มหรือทีมอเมร ิกันฟุตบอลชื่อดัง ทว่าแท้จริงแล้วเมืองหลวงของมลรัฐอิลลินอยส์กลับเป็น บ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดี "อับราฮัม ลินคอล์น" ที่มีชื่อว่าเมือง "สปริงฟิลด์"
4. เมือง "ริโอ เดอ จาเนโร" ประเทศบราซิล
นี่คือมหานครแห่งความสนุกสนาน ซึ่งหลายคนขนานนามให้เป็นเมืองหลวงแห่งเทศกาลคาร์นิว ัล อย่างไรก็ตาม นครหลวงของบราซิลมีชื่อว่ากรุง "บราซิเลีย"
5. เมือง "อิสตันบูล" ประเทศตุรกี
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว อิสตันบูลเคยเป็นนครหลวงของอาณาจักรโรมันโบราณและจัก รวรรดิออตโตมัน แต่เมืองหลวงของประเทศตุรกีในยุคปัจจุบันมีชื่อว่า "อังการา"
6. เมือง "เจนีวา" ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สองมหานครชื่อดังก้องโลกอย่างเจนีวาและซูริคนั้นไม่ใ ช่เมืองหลวงของสวิตเซอร์แลนด์ แต่กรุง "เบิร์น" ต่างหากที่ใช่
7. เมือง "โจฮันเนสเบิร์ก" ประเทศแอฟริกาใต้
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าแม้แอฟริกาใต้ เจ้าภาพฟุตบอลโลกประจำปีนี้ จะมีเมืองหลวงถึง 3 แห่ง แต่กลับไม่มีชื่อของโจฮันเนสเบิร์กรวมอยู่ในนั้นด้วย โดยรายชื่อนครหลวงทั้งหมดของแอฟริกาใต้ ได้แก่ "โบลเอมฟอนเทอิน" นครหลวงฝ่ายตุลาการ, "พริทอเรีย" นครหลวงฝ่ายบริหาร และ "เคปทาวน์" นครหลวงฝ่ายนิติบัญญัติ
8. เมือง "ทิมบุกตู" ประเทศมาลี
ทิมบุกตูอาจเป็นเมืองที่ลึกลับ, แปลกประหลาด และโด่งดังที่สุดในประเทศ แต่เมืองหลวงของมาลีมีชื่อว่า "บามาโก" ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในทวี ปแอฟริกา รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางสำคัญของดนตรีแบบ "เวิลด์ มิวสิค" อีกด้วย
9. เมือง "ลาสเวกัส" มลรัฐเนวาดา
ถ้าคุณไปท้าพนันกับใครต่อใครว่า "เมืองบาป" ซึ่งมีบ่อนพนันหรูหราตั้งอยู่มากมายแห่งนี้ มีสถานะเป็นเมืองหลวงของมลรัฐเนวาดา คุณคงต้องกระเป๋าฉีกอย่างแน่นอน เพราะเมืองหลวงของเนวาดามีชื่อว่า "คาร์สัน ซิตี้" ต่างหาก
10. เมือง "คาซาบลังกา" ประเทศโมร็อกโก
นี่อาจเป็นเมืองอมตะในหนังคลาสสิกเรื่องดังของวงการภ าพยนตร์ แต่นครหลวงของโมร็อกโกกลับเป็นเมืองอันแสนสงบสุขและม ีความร่ำรวยทางวัฒนธรรมซึ่งมีชื่อว่า "ราบัต"
(ข้อมูลจาก สำนักข่าวรอยเตอร์ และเว็บไซต์ virtualtourist.com)
6/18/2554
6/11/2554
สะพานโกลเดนเกต
สะพานโกลเดนเกต | |
Golden Gate Bridge | |
สะพานโกลเดนเกต | |
ข้อมูลทั่วไป | |
---|---|
ประเภท | สะพานแขวน |
ที่ตั้ง | ซานฟรานซิสโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
การก่อสร้าง | |
ปีสร้าง | ค.ศ. 1937 |
โครงสร้าง | เหล็กอัดแรง |
ขนาด | ยาว: 3,347 เมตร สูง: 227 เมตร กว้าง: 27 เมตร |
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว | |
พิกัด | 37°49′11″N 122°28′43″W / 37.81972°N 122.47861°W / 37.81972; -122.47861 |
สะพานโกลเดนเกต (อังกฤษ: Golden Gate Bridge) ทอดยาวข้ามอ่าวตอนเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาสร้างในสมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ เมื่อปี ค.ศ. 1933 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1937 ตอนกลางสะพานยาว 1,280 เมตร กว้าง 27 เมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 67 เมตร มีทางรถยนต์ 6 ทาง รถบรรทุก 3 ทาง รถไฟ 2 ทาง ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สะพานโกลเดนเกตกลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ สะพานกลายเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย ปัจจุบันนี้เองผู้คนทั่วโลกเองก็ยังคงรู้จักสะพานโกลเดนเกตและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา และจากผลการสำรวจสถานที่ที่น่าประทับใจของสถาบันสถาปนิกอเมริกัน พบว่าอยู่ในอันดับที่ 5 ของสถานที่ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา
Voltaire
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"
วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ผลงานของวอลแตร์
- ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
อิทธิพลของวอลแตร์
ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้นวอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332”
ประชากรที่อยู่บนโลกใบนี้~
อันดับ | ประเทศ/เขตปกครองพิเศษ | จำนวนประชากร | วันที่อัปเดต ครั้งหลังสุด | % ประชากรเทียบ กับประชากรโลก | แหล่งอ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
— | โลก | 6,918,100,000 | 100% | US Census – International Programs Department | |
1 | จีน ไม่นับรวมเขตปกครองพิเศษ | 1,344,820,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 19.44% | Chinese Population clock |
2 | อินเดีย | 1,195,760,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 17.28% | Indian Population clock |
3 | สหรัฐอเมริกา | 312,383,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 4.52% | Official USA Population clock |
4 | อินโดนีเซีย | 231,369,500 | 3.34% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
5 | บราซิล | 194,937,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 2.82% | Official Brazilian population clock |
6 | ปากีสถาน | 172,835,500 | 12 มิถุนายน 2011 | 2.5% | Official Pakistani Population clock |
7 | บังกลาเทศ | 162,221,000 | 2.34% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
8 | ไนจีเรีย | 154,729,000 | 2.24% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
9 | รัสเซีย | 141,838,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 2.05% | Russian State Statistics Service |
10 | ญี่ปุ่น | 127,590,000 | 1 สิงหาคม 2009 | 1.84% | Official Japan Statistics Bureau estimate |
11 | เม็กซิโก | 107,550,697 | กลางปี 2009 | 1.55% | INEGI estimate National Population Statistics of Mexico |
12 | ฟิลิปปินส์ | 92,222,660 | กลางปี 2009 | 1.33% | National Statistics Office medium projection |
13 | เวียดนาม | 90,549,390 | กรกฎาคม 2011 | 1.31% | CIA Factbook about Vietnam |
14 | เยอรมนี | 82,046,000 | 30 พฤศจิกายน 2008 | 1.19% | Federal Statistical Office |
15 | เอธิโอเปีย | 79,221,000 | กรกฎาคม 2008 | 1.15% | Ethiopia Central Statistics Agency |
16 | อียิปต์ | 78,945,000 | 4 กันยายน 2010 | 1.12% | Official Egyptian population clock |
17 | อิหร่าน | 74,196,000 | 1.07% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
18 | ตุรกี | 71,517,100 | 31 ธันวาคม 2008 | 1.03% | Turkish Statistical Institute estimate |
19 | ไทย | 67,354,820 | 31 ธันวาคม 2010 | 0.97% | สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
20 | สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | 66,020,000 | 0.95% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
21 | ฝรั่งเศส รวมดินแดนโพ้นทะเลอีก 7 แห่ง | 65,073,482 เฉพาะฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ คิดเป็น 64,303,482 คน | 1 มกราคม 2009 | 0.94% | Official INSEE estimate |
22 | สหราชอาณาจักร | 61,634,599 | 1 มกราคม 2009 | 0.89% | Eurostat estimate |
23 | อิตาลี | 57,354,820 | กันยายน 2010 | 0.87% | ISTAT estimate |
24 | พม่า | 50,020,000 | 0.72% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
25 | แอฟริกาใต้ | 49,320,000 | 1 กรกฎาคม 2009 | 0.71% | Statistics South Africa |
26 | เกาหลีใต้ | 48,333,000 | 0.7% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
27 | ยูเครน | 46,029,281 | 1 กรกฎาคม 2009 | 0.67% | Official UKRSTAT estimate |
28 | สเปน | 45,929,476 | 1 กรกฎาคม 2009 | 0.66% | Official INE estimate |
29 | โคลอมเบีย | 45,094,646 | 18 กันยายน 2009 | 0.65% | Official Colombian Population clock |
30 | แทนซาเนีย | 43,739,000 | 0.63% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
31 | ซูดาน | 42,272,000 | 0.61% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
32 | อาร์เจนตินา | 40,134,425 | 30 มิถุนายน 2009 | 0.58% | Official INDEC estimate |
33 | เคนยา | 39,802,000 | 0.58% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
34 | โปแลนด์ | 38,100,700 | ธันวาคม 2009 | 0.55% | Official Central Statistics Office of Poland |
35 | แอลจีเรีย | 34,895,000 | 0.5% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
36 | แคนาดา | 34,454,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 0.5% | Official Canadian Population clock |
37 | ยูกันดา | 32,710,000 | 0.47% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
38 | โมร็อกโก | 31,591,183 | 22 กันยายน 2009 | 0.46% | Official Moroccan Population clock |
39 | อิรัก | 30,747,000 | 0.44% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
40 | เนปาล | 29,331,000 | 0.42% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
41 | เปรู | 29,132,013 | 30 มิถุนายน 2009 | 0.42% | Official INEI estimate |
42 | เวเนซุเอลา | 28,482,150 | 18 กันยายน 2009 | 0.41% | Official Venezuelan Population clock |
43 | อัฟกานิสถาน | 28,150,000 | 0.41% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
44 | อุซเบกิสถาน | 27,488,000 | 0.4% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
45 | มาเลเซีย | 27,468,000 | 0.4% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
46 | ซาอุดีอาระเบีย | 25,721,000 | 0.37% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
47 | เกาหลีเหนือ | 24,051,706 | 0.35% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
48 | กานา | 23,837,000 | 0.34% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
49 | เยเมน | 23,580,000 | 0.34% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
50 | ไต้หวัน และเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นหมู่เกาะไต้หวัน | 23,069,345 | 30 มิถุนายน 2009 | 0.33% | Official National Statistics Taiwan estimate |
51 | โมซัมบิก | 22,894,000 | 0.33% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
52 | ออสเตรเลีย รวมเกาะคริสต์มาส หมู่เกาะโคโคส์ และเกาะนอร์ฟอล์ก | 22,566,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 0.33% | Official Australian Population clock |
53 | ซีเรีย | 21,906,000 | 0.32% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
54 | โรมาเนีย | 21,498,616 | 1 มกราคม 2009 | 0.31% | Eurostat estimate |
55 | โกตดิวัวร์ | 21,075,000 | 0.3% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
56 | ศรีลังกา | 20,238,000 | 0.29% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
57 | มาดากัสการ์ | 19,625,000 | 0.28% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
58 | แคเมอรูน | 19,522,000 | 0.28% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
59 | แองโกลา | 18,498,000 | 0.27% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
60 | ชิลี | 17,252,000 | 12 มิถุนายน 2011 | 0.25% | Official INE projection (p. 36) |
61 | เนเธอร์แลนด์ | 16,540,092 | 18 กันยายน 2009 | 0.24% | Official Netherlands population clock |
62 | คาซัคสถาน | 15,776,492 | 1 กรกฎาคม 2009 | 0.23% | National Statistics Agency estimate |
63 | บูร์กินาฟาโซ | 15,757,000 | 0.23% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
64 | ไนเจอร์ | 15,290,000 | 0.22% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
65 | มาลาวี | 15,263,000 | 0.22% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
66 | กัมพูชา | 14,805,000 | 0.21% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
67 | เอกวาดอร์ | 14,048,296 | 18 กันยายน 2009 | 0.2% | Official Ecuadorian population clock |
68 | กัวเตมาลา | 14,027,000 | 0.2% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
69 | มาลี | 13,010,000 | 0.19% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
70 | แซมเบีย | 12,935,000 | 0.19% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
71 | เซเนกัล | 12,534,000 | 0.18% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
72 | ซิมบับเว | 12,523,000 | 0.18% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
73 | กรีซ | 11,257,285 | 1 มกราคม 2009 | 0.16% | Eurostat estimate |
74 | ชาด | 11,206,000 | 0.16% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
75 | คิวบา | 11,204,000 | 0.16% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
76 | เบลเยียม | 10,754,528 | 1 มกราคม 2009 | 0.16% | Eurostat estimate |
77 | โปรตุเกส | 10,627,250 | 1 มกราคม 2009 | 0.15% | Eurostat estimate |
78 | สาธารณรัฐเช็ก | 10,467,542 | 1 มกราคม 2009 | 0.15% | Eurostat estimate |
79 | ตูนิเซีย | 10,327,800 | 1 กรกฎาคม 2008 | 0.15% | National Statistics Institute of Tunisia |
80 | สาธารณรัฐโดมินิกัน | 10,090,000 | 0.15% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
81 | กินี | 10,069,000 | 0.15% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
82 | เฮติ | 10,033,000 | 0.15% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
83 | ฮังการี | 10,031,208 | 1 มกราคม 2009 | 0.14% | Eurostat estimate |
84 | รวันดา | 9,998,000 | 0.14% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
85 | โบลิเวีย | 9,863,000 | 0.14% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
86 | เซอร์เบีย นับรวมคอซอวอ | 9,850,000 | 0.14% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
87 | เบลารุส | 9,671,900 | 1 มกราคม 2009 | 0.14% | Official statistics of Belarus |
88 | สวีเดน | 9,302,133 | 31 กรกฎาคม 2009 | 0.13% | Statistics Sweden |
89 | โซมาเลีย นับรวมโซมาลิแลนด์ | 9,133,000 | 0.13% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
90 | เบนิน | 8,935,000 | 0.13% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
91 | อาเซอร์ไบจาน | 8,629,900 | 1 มกราคม 2008 | 0.12% | [2] |
92 | ออสเตรีย | 8,355,260 | 1 มกราคม 2009 | 0.12% | Eurostat estimate |
93 | บุรุนดี | 8,303,000 | 0.12% | ประมาณการสหประชาชาตื | |
94 | สวิตเซอร์แลนด์ | 7,745,900 | 31 กรกฎาคม 2009 | 0.11% | Official Switzerland Statistics estimate |
95 | บัลแกเรีย | 7,606,551 | 1 มกราคม 2009 | 0.11% | Eurostat estimate |
96 | ฮอนดูรัส | 7,466,000 | 0.11% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
97 | อิสราเอล | 7,446,700 ประมาณการเมื่อกลางปี ค.ศ. 2009 ของ สหประชาชาติอยู่ที่ 7,170,000 คน โดย ไม่นับรวมผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ | 31 กรกฎาคม 2009 | 0.11% | Israeli Central Bureau of Statistics |
98 | ฮ่องกง | 7,008,900 | 31 ธันวาคม 2008 | 0.101% | Hong Kong Census and Statistics Department |
99 | ทาจิกิสถาน | 6,952,000 | 0.1% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
100 | ลาว | 6,835,345 | กรกฎาคม 2009 | 0.099% | [3] |
101 | ปาปัวนิวกินี | 6,732,000 | 0.097% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
102 | โตโก | 6,619,000 | 0.096% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
103 | ลิเบีย | 6,420,000 | 0.093% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
104 | ปารากวัย | 6,349,000 | 0.092% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
105 | จอร์แดน | 6,316,000 | 0.091% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
106 | เอลซัลวาดอร์ | 6,163,000 | 0.089% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
107 | นิการากัว | 5,743,000 | 0.083% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
108 | เซียร์ราลีโอน | 5,696,000 | 0.082% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
109 | เดนมาร์ก | 5,519,441 | 30 มิถุนายน 2009 | 0.08% | Statistics Denmark |
110 | คีร์กีซสถาน | 5,482,000 | 0.079% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
111 | สโลวาเกีย | 5,413,548 | 31 มีนาคม 2009 | 0.078% | Statistics Slovakia |
112 | ฟินแลนด์ รวม เกาะโอลันด์ | 5,347,277 | 6 ตุลาคม 2009 | 0.077% | Official Finnish Population clock |
113 | เติร์กเมนิสถาน | 5,110,000 | 0.074% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
114 | สิงคโปร์ | 5,076,700 | กลางปี 2010 | 0.073% | Statistics Singapore |
115 | เอริเทรีย | 5,073,000 | 0.073% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
116 | นอร์เวย์ รวม สวอลบาร์ด (2,701) และ เกาะยานมาเยน | 4,839,600 | 8 ตุลาคม 2009 | 0.07% | Official Norwegian Population clock |
117 | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 4,599,000 | 0.066% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
118 | คอสตาริกา | 4,579,000 | 0.066% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
119 | ไอร์แลนด์ | 4,459,300 | 1 เมษายน 2009 | 0.064% | Irish Central Statistics Office estimate |
120 | โครเอเชีย | 4,435,056 | 1 มกราคม 2009 | 0.064% | Eurostat estimate |
121 | สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | 4,422,000 | 0.064% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
122 | จอร์เจีย รวมสาธารณรัฐอับาคาเซีย (216,000) และเซาท์ออสซีเซีย (70,000) | 4,385,400 | 1 มกราคม 2009 | 0.063% | Statistics Georgia |
123 | นิวซีแลนด์ | 4,399,500 | 12 มิถุนายน 2011 | 0.062% | Official New Zealand Population clock |
124 | เลบานอน | 4,224,000 | 0.061% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
125 | เปอร์โตริโก | 3,982,000 | 0.058% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
126 | บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | 3,767,000 | 0.054% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
127 | ปาเลสไตน์ | 3,761,646 | 1 ธันวาคม 2007 | 0.054% | 2007 Palestinian Bureau Census |
128 | สาธารณรัฐคองโก | 3,683,000 | 0.053% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
129 | มอลโดวา รวม ทรานนิสเตรีย (555,347) | 3,567,500 | 1 มกราคม 2009 | 0.052% | National Bureau of Statistics of Moldova |
130 | ไลบีเรีย | 3,476,608 | มีนาคม 2008 | 0.05% | 2008 Population and Housing Census |
131 | ปานามา | 3,454,000 | 0.05% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
132 | อุรุกวัย | 3,361,000 | 0.049% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
133 | ลิทัวเนีย | 3,349,872 | 1 มกราคม 2009 | 0.048% | Eurostat estimate |
134 | มอริเตเนีย | 3,291,000 | 0.048% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
135 | อาร์เมเนีย | 3,230,100 | 1 มกราคม 2008 | 0.043% | [4] |
136 | แอลเบเนีย | 3,170,000 | 1 มกราคม 2008 | 0.046% | [5] |
137 | คูเวต | 2,985,000 | 0.043% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
138 | โอมาน | 2,845,000 | 0.041% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
139 | จาเมกา | 2,719,000 | 0.039% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
140 | มองโกเลีย | 2,671,000 | 0.039% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
141 | ลัตเวีย | 2,257,300 | พฤษภาคม 2009 | 0.033% | Official Statistics of Latvia |
142 | นามิเบีย | 2,171,000 | 0.031% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
143 | เลโซโท | 2,067,000 | 0.03% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
144 | มาซิโดเนีย | 2,048,620 | 1 มกราคม 2009 | 0.03% | Eurostat estimate |
145 | สโลวีเนีย | 2,047,009 | 4 ตุลาคม 2009 | 0.03% | Official Slovenian population clock |
146 | บอตสวานา | 1,950,000 | 0.028% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
147 | แกมเบีย | 1,705,000 | 0.025% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
148 | กินี-บิสเซา | 1,611,000 | 0.023% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
149 | กาบอง | 1,475,000 | 0.021% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
150 | กาตาร์ | 1,409,000 | 0.02% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
151 | เอสโตเนีย | 1,340,415 | 1 มกราคม 2009 | 0.019% | [6] |
152 | ตรินิแดดและโตเบโก | 1,339,000 | 0.019% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
153 | มอริเชียส รวม อากาเลอกา, เกาะโรดริเกส และ คาร์กาดอส | 1,288,000 | 0.019% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
154 | สวาซิแลนด์ | 1,185,000 | 0.017% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
155 | ติมอร์ตะวันออก | 1,134,000 | 0.016% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
156 | จิบูตี | 864,000 | 0.012% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
157 | ฟิจิ | 849,000 | 0.012% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
158 | ไซปรัส รวม นอร์เทิร์นไซปรัส | 793,963 | 1 มกราคม 2009 | 0.011% | Eurostat estimate |
159 | บาห์เรน | 791,000 | 0.011% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
160 | กายอานา | 762,000 | 0.011% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
161 | ภูฏาน | 697,000 | 0.01% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
162 | คอโมโรส ไม่นับรวมเกาะมายอต | 676,000 | 0.01% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
163 | อิเควทอเรียลกินี[3] | 676,000 | 0.007% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
164 | มอนเตเนโกร | 624,000 | 0.009% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
165 | มาเก๊า | 546,200 | 31 มีนาคม 2009 | 0.008% | Macau Statistics and Census Service |
166 | หมู่เกาะโซโลมอน | 523,000 | 0.007% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
167 | ซูรินาเม | 520,000 | 0.008% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
168 | เวสเทิร์นสะฮารา | 513,000 | 0.007% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
169 | เคปเวิร์ด | 506,000 | 0.007% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
170 | ลักเซมเบิร์ก | 493,500 | 1 มกราคม 2009 | 0.007% | Eurostat estimate |
171 | มอลตา | 413,627 | 1 มกราคม 2009 | 0.006% | Eurostat estimate |
172 | บรูไน | 408,146 | 0.006% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
173 | บาฮามาส | 342,000 | 0.005% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
174 | เบลีซ | 322,100 | 30 มิถุนายน 2008 | 0.005% | Statistical Institute of Belize |
175 | ไอซ์แลนด์ | 319,246 | 1 กรกฎาคม 2009 | 0.005% | Statistics Iceland |
176 | มัลดีฟส์ | 309,000 | 0.004% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
177 | บาร์เบโดส | 256,000 | 0.004% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
178 | วานูอาตู | 240,000 | 0.003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
179 | เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส | 198,000 | 0.003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
180 | ซามัว | 179,000 | 0.003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
181 | กวม | 178,000 | 0.003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
182 | เซนต์ลูเซีย | 172,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
183 | เซาตูเมและปรินซิปี | 163,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
184 | ไมโครนีเซีย | 111,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
185 | หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา | 110,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
186 | เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ | 109,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
187 | อารูบา | 107,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
188 | เกรเนดา | 104,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
189 | ตองกา | 104,000 | 0.002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
190 | คิริบาส | 98,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
191 | เจอร์ซีย์ | 89,300 | 31 ธันวาคม 2006 | 0.001% | [7] |
192 | แอนติกาและบาร์บูดา | 88,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
193 | หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา | 87,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
194 | อันดอร์รา | 86,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
195 | เซเชลส์ | 84,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
196 | เกาะแมน | 80,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
197 | โดมินิกา | 67,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
198 | อเมริกันซามัว | 67,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
199 | เบอร์มิวดา | 65,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
200 | หมู่เกาะมาร์แชลล์ | 62,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
201 | เกิร์นซีย์ | 61,811 | 1 มีนาคม 2007 | 0.001% | UN estimate: Series A, Table 2 |
202 | กรีนแลนด์ | 57,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
203 | หมู่เกาะเคย์แมน | 56,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
204 | เซนต์คิตส์และเนวิส | 52,000 | 0.001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
205 | หมู่เกาะแฟโร | 49,006 | 1 สิงหาคม 2009 | 0.001% | Official statistics of the Faroe Islands |
206 | ลิกเตนสไตน์ | 35,593 | 1 มกราคม 2009 | 0.0005% | [8] |
207 | โมนาโก | 33,000 | 0.0005% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
208 | หมู่เกาะเติร์กและไคคอส | 33,000 | 0.0005% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
209 | ยิบรอลตาร์ | 31,000 | 0.0004% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
210 | ซานมารีโน | 30,800 | 1 มกราคม 2008 | 0.0004% | [9] |
211 | หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน | 23,000 | 0.0003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
212 | หมู่เกาะคุก | 20,000 | 0.0003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
213 | ปาเลา | 20,000 | 0.0003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
214 | แองกวิลลา | 15,000 | 0.0002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
215 | ตูวาลู | 10,000 | 0.0001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
216 | นาอูรู | 10,000 | 0.0001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
217 | มอนต์เซอร์รัต | 5,900 | 0.0001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
218 | เซนต์เฮเลนา รวม เกาะแอสเซนชัน และ ทริสตาน ดา คุนหา | 4,500 | 0.0001% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
219 | หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ | 3,000 | 0.00005% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
220 | นีอูเอ | 1,500 | 0.00003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
221 | โตเกเลา | 1,200 | 0.00003% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
222 | นครรัฐวาติกัน | 800 | 0.00002% | ประมาณการสหประชาชาติ | |
223 | หมู่เกาะพิตแคร์น | 50 | 0.000001% | ประมาณการสหประชาชาติ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)